การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558
Diary Note 30 November 2015
Diary Note No.11
Learning Content (เนื้อหาการเรียนรู้)
1. แม้จะเป็นการเรียนสัปดาห์สุดท้ายแต่อาจารย์ก็ยังคงเต็มที่กับการสอนตลอดค่ะ
2. เริ่มด้วยกิจกรรมบริหารสมอง
กิจกรรมบริหารสมอง
3. เนื้อหา 5 สาระการเรียนรู้
4. เพื่อนๆร่วมแสดงผลงาน งานที่ได้รับมอบหมาย
รวมผลงานเพื่อน
ผลงานของหนูค่ะ
5. เพื่อนๆรับรางวัลเด็กดี
Applications (การประยุกต์ใช้งาน)
การบริหารสมองเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานไม่น่าเบื่อเรียกสมาธิได้เป็นอย่างดี
Evaluation Friend (การประเมินผลเพื่อน)
เพื่อนๆทุกคนสนุกสนานกับการทำกิจกรรมกันเป็นอย่างมากโดยเฉพาะกับกิจกรรมบริหารสมองเพื่อนๆให้ความสนใจเป็นอย่างมากและสนุกสนานกันเป็นอย่างมาก
Teacher Evaluation (การประเมินผลครู)
แม้จะเป็นสัปดาห์สุดท้ายแต่อาจารย์ก็ยังคงหากิจกรรมมาให้ทำอย่างสนุกสนานขอบคุณอาจารย์นะค่ะสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่มอบให้กับหนู
Summary of the study (สรุปผลการเรียน)
ได้ฝึกการบริหารสอง ถือว่าเป็นวิธีที่น่านำไปปฏิบัติดีค่ะสมองเหมือนถูกเรียกสมาธิกลับมา
วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558
Diary Note 23 November 2015
Diary Note No.10
Learning Content (เนื้อหาการเรียนรู้)
1. เนื้อหาที่เรียนในวันนี้คือเรื่อง
ศิลปะสร้างสรรค์
พัฒนาการทางศิลปะ (Lowenfeld and Britain)
ความหมาย
- เป็นเครื่องมือที่ให้เด็กแสดงความรู้สึก ความต้องการออกมาผ่านผลงาน
- การวาด การปั้น การประดิษฐ์ การตัด การฉีก การปะ การพับ
ขั้นขีดเขียน (Scribbling Stage)
- 2-4 ปี
- ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
ความสำคัญและประโยชน์ของศิลปะสร้างสรรค์
- เด็กได้แสดงความรู้สึก ความคิด ความสามารถ
- ตอบสนองธรรมชาติและความต้องการของเด็ก
- บำบัดอารมณ์
- ฝึกทักษะการทำงานของอวัยวะต่างๆ
- แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเด็ก
ขั้นก่อนมีแบบแผน (Preschemalic Stage)
- 4-7 ปี
- ภาพมีความสัมพันธ์กับความจริง
ขั้นใช้สัญลักษณ์ (Schemalic Stage)
- 7-9 ปี
- คล้ายของจริง
หลักการจัดประสบการณ์ศิลปะ
- กระบวนการสำคัญกว่าผลงาน
- หลีกเลี่ยงการวาดภาพตามแบบ การระบายสีจากสมุดภาพ
- ชื่นชมม
- เตรียมอุปกรณ์
- ศิลปะสำคัญเช่นเดียวกับการเขียนอ่าน
- หลีกเลี่ยงคำถาม "กำลังทำอะไร" หรือ "เดาสิ่งที่เด็กทำ"
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
- กิจกรรมสี
- การปั้น
- การตัดปะ
- การพับ
- การประดิษฐ์
นอกจากนี้ยังมีงานมอบหมายให้เป็นการบ้านอีกด้วย
งานมอบหมาย
Applications (การประยุกต์ใช้งาน)
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้หลากหลายไม่น่าเบื่อ และเพื่อทำให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้กิจกรรมต่างๆมากยิ่งขึ้น
Evaluation Friend (การประเมินผลเพื่อน)
เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียนดีค่ะ แม้จะมีพูดคุยนอกเรื่องกันบ้าง
Teacher Evaluation (การประเมินผลครู)
แม้จะเป็นการเรียนเนื้อหาแต่อาจารย์ก็สามารถสอนในวิธีที่หลากหลายไม่น่าเบื่อค่ะหนูชอบ
Summary of the study (สรุปผลการเรียน)
การจะจัดกิจกรรมให้กับเด็กนั้นครูจะต้องมีเครื่องมือที่หลากหลายเพื่อรองรับต่อความต้องการของเด็กและครูจะต้องสามารถประยุกต์แต่ล่ะกิจกรรมให้เหมาะสมอีกด้วย
Diary Note 9 November 2015
Diary Note No.9
Learning Content (เนื้อหาการเรียนรู้)
1. วันนี้เป็นการสอบเขียนกระดาน โดยกลุ่มของข้าพเจ้ามีเนื้อหาของนิทานดังนี้
นิทานของกลุ่มข้าพเจ้า เรื่อง โรงเรียนของฉัน
ผู้แต่ง คุณครูและเด็กๆอนุบาลปีที่ 3
โรงเรียนของเราน่าอยู่
ที่โรงเรียนมีคุณครูใจดี
มีเพื่อนๆมากมายที่โรงเรียน
หนูชอบไปวิ่งเล่นในโรงเรียน
พวกเราทุกคนชอบไปโรงเรียน
ตัวอย่างของกล่มเพื่อนๆ
2. แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กลุ่มหนูได้หน่วย ต้นไม้ขั้นแรก
- ให้เด็กหาบริเวณพื้นที่เฉพาะตัว
- ให้เด็กเคลื่อนไหวตามจังหวะ เมื่อได้ยินสัญญาณหยุดให้หยุดทันที
ขั้นต่อมา
- จากนั้นให้เด็กเคลื่อนไหวตามจังหวะ พร้อมปฏิบัติตามคำสั่งดังนี้
- - แบ่งกลุ่ม 2 คน ให้เด็กสมมติตัวเองเป็นต้นไม้ มีลำต้น และกิ่ง
- - แบ่งกลุ่ม 5 คน ให้เด็กสมมติตัวเองเป็นต้นไม้ มีลำต้น กิ่ง และ ใบ
- - แบ่งกลุ่ม 8 คน ให้เด็กสมมติตัวเองเป็นป่าขนาดใหญ่
Applications (การประยุกต์ใช้งาน)
เมื่อไปสอนเด็กจริงๆต่อไปเทคนิคต่างๆเช่นการใช้คำถามการเก็บเด็กหน้าชั้นเรียนการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างมาก
Evaluation Friend (การประเมินผลเพื่อน)
เพื่อนๆตั้งใจกับการสอบเป็นอย่างมากทุกคนตั้งใจสอบเป็นอย่างมากและทุกคนก็สนุกกับการสอบเป็นอย่างมาก
Teacher Evaluation (การประเมินผลครู)
อาจารย์จะคอยมีกิจกรรมใหม่ๆที่หลากหลายมาให้ตลอด และอาจารย์ก็เป็นคนที่สอนสนุกมากๆ
Summary of the study (สรุปผลการเรียน)
สำหรับการสอบเขียนกระดานในวันนี้ได้เรียนรู้การเก็บเด็กการใช้คำถามกับเด็กได้รู้วิธีการสอนเคลื่อนไหวที่สนุกไม่น่าเบื่ออีกด้วย
Diary Note 2 November 2015
Diary Note No.8
Learning Content (เนื้อหาการเรียนรู้)
1. เริ่มด้วยเพลง
2. ซ้อมการเขียนกระดาน
3. สาธิตการเขียนกระดานการเก็บเด็ก( สาธิตการสอน )
4. แบ่งกลุ่มหัดเขียนกระดาน
Applications (การประยุกต์ใช้งาน)
ต่อไปในภายภาคหน้าการเขียนกระดานถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับครูปฐมวัยเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นการฝึกในวันนี้ถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมที่ดีสำหรับตัวของข้าพเจ้าเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งวันนี้อาจารย์ยังมีวิธีหรือเคล็บดีสำหรับการเขียนกระดานมาให้อีกด้วย
Evaluation Friend (การประเมินผลเพื่อน)
เมื่อได้รับมอบหมายไห้ไปหัดเขียนกระดานเพื่อนๆก็แบ่งกลุ่มกันไปฝึกหัดต่างคนต่างหัดอย่างตั้งใจและสนุกสนานเป็นอย่างมากเพื่อนบางคนก็เขียนสวยบางคนยังต้องมีการปรับปุรง
Teacher Evaluation (การประเมินผลครู)
ในแต่ละอาทิตย์อาจารย์มีกิจกรรมมาให้ไม่เคยซ้ำกันเลยอาจารย์แต่งกายเรียบร้อยพูดจาน่าฟังแต่ละกิจกรรมของอาจารย์ก็เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์แก่นักศึกษาเป็นอย่างมาก
Summary of the study (สรุปผลการเรียน)
การฝึกการเขียนกระดานถือว่าเป็นการฝึกฝนที่ดีและมีประโยชน์สำหรับการเป็นครูในอนาคตเป็นอย่างมากในวันนี้อาจารย์มีเทคนิคและวิธีการเขียนกระดานวิธีการเก็บเด็กมาให้ด้วย
Diary Note 26 October 2015
Diary Note No.7
Learning Content (เนื้อหาการเรียนรู้)
เนื้อหาที่เรียน
อาจารย์แจกสีให้แก่นักศึกษาคนละ 1 กล่อง
กิจกรรมประดิษฐ์ไม้กายสิทธิ์
- ได้รับความรู้ในเรื่องของการทำไม้กายสิทธิ์
ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
- เพื่อนมีความพร้อมในการเรียน ออกแบบไม้กายสิทธิ์กันได้อย่างสวยงาม และ ตั้งใจทำไม้กายสิทธิ์อย่างตั้งใจ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ ในการทำไม้กายสิทธิ์
*เนื่องจากการเรียนในสัปดาห์นี้หนุไม่ได้มาค่ะ เนื้อหาในการบันทึกครั้งนี้หนูเอามาจากบล็อคของเพื่อนค่ะ หนูเอามาจากบล็อคของ ภณิชชาค่ะ*
กิจกรรมประดิษฐ์ไม้กายสิทธิ์
- ได้รับความรู้ในเรื่องของการทำไม้กายสิทธิ์
ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
- เพื่อนมีความพร้อมในการเรียน ออกแบบไม้กายสิทธิ์กันได้อย่างสวยงาม และ ตั้งใจทำไม้กายสิทธิ์อย่างตั้งใจ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ ในการทำไม้กายสิทธิ์
*เนื่องจากการเรียนในสัปดาห์นี้หนุไม่ได้มาค่ะ เนื้อหาในการบันทึกครั้งนี้หนูเอามาจากบล็อคของเพื่อนค่ะ หนูเอามาจากบล็อคของ ภณิชชาค่ะ*
Diary Note 19 October 2015
Diary Note No.6
Learning Content (เนื้อหาการเรียนรู้)
1. เริ่มด้วยการเปิดเพลงให้ทายเสียงที่ได้ยิน
กิจกรรมฟังเสียงเครื่องดนตรี
1. ไวโอลิน
2.แซ็กโซโฟน
3.เม้าท์ออกแกน
4.ฉาบ
5.ทอมโบน
6.กีต้าร์
7.เปียโน
8.แตร
9.ฟรุ๊ต
10.นิ้งหน่อง
11.ทรัมเป็ต
12.กลองชุด
13.เชลโล
14.ปี่สก็อต
กิจกรรมฟังเสียงสัตว์
1.สุนัข
2.แมว
3.หมู
4.วัว
5.ไก่ตัวผู้
6.ม้า
7.ไก่ตัวเมีย
8.ลา
9.แพะ
10.เป็ด
11. นก
2. ทายสำนวนจากภาพปริศนา
3. กิจกรรมภาษาสร้างสรรค์
4. รวมกลุ่มแต่งเพลง " อะไรเอ่ย "
- อะไรเอ่ยเป็นเจ้าแห่งป่า เป็นสัตว์สี่ขาเลี้ยงลูกด้วยนม
มีขนแผงคอสวยงามน่าชม เด็กๆทุกคนมาลองทายดู
คำตอบคือ สิงโต
- อะไรเอ่ยตัวสูงคอยาว มีฟันสีขาวขายาวลายจุด
ชอบกินใบไม้บนยอดสูงสุด พอถึงวันหยุดเด็กชอบไปดู
คำตอบคือ ยีราฟ
ตัวอย่างของอาจารย์
Applications (การประยุกต์ใช้งาน)
สำหรับการนำไปใช้ในวันนี้กิจกรรมที่อาจารย์นำมาครูสามาารถนำมาใช้กับเด็กได้เพราะการฟังเสียงเครื่องดนตรี ฟังเสียงสัตว์ ล้วนเป็นกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นเด็กๆจะสนใจเป็นอย่างมากทั้งนี้ยังสมามารถนำมาใช้ในการเก็บเด็กได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
เพื่อนๆทุกคนให้ความสนใจตั้งแต่กิจกรรมแรกจนกิจกรรมสุดท้าย ทุกกิจกรรมเพื่อนๆก็ช่วยกันแก้ไขปัญหาช่วยกันวางแผนการทำกิจกกรมเพื่อให้ผลงานออกมาดี และผลงานที่ออกมาก็เป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก
Teacher Evaluation (การประเมินผลครู)
อาจารย์มีการเตรียมกิจกรรมมาให้ในแต่ล่ะครั้งได้น่าสนใจเป็นอย่างมาก ในสัปดาห์นี้กิจกรรมที่อาจารย์นำมามีความน่าสนใจเป็นอย่างมากเป็นกิจกรรมที่ตัวของข้าพเจ้าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมแก่เด็กอนุบาลได้ทุกกิจกรรมเลยค่ะ
Summary of the study (สรุปผลการเรียน)
กิจกรรมที่อาจารย์นำมาในวันนี้เป็นการฝึกการคิดการจดเสียงๆรอบๆตัวเด็กนอกจากนี้ยังเป็นการฝึกการคิดการตัดสินใจฝึกการทำงานเป้นกลุ่มทุกกิจกรรมล้วนเป็นกิจกรรมที่ครูสามารถจัดให้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)